วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ประเดิม "คุกหลักสี่" สถานที่คุมขังใหม่



เผยหลักเกณฑ์ นักโทษการเมือง แยกขังเรือนจำหลักสี่


กรมราชทัณฑ์สรุปเกณฑ์คัดเลือกผู้ต้องขังที่เข้าข่ายเป็นนักโทษการเมืองเพื่อแยกขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ต้องเป็นผู้ต้องขังคดีการเมืองก่อนและหลังก่อรัฐประหาร 19 ก.ย.49 คดีหมิ่นสถาบัน ความผิดต่อความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น

การประชุมคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์และคัดเลือกผู้ต้องขังที่เข้าข่ายเป็นนักโทษการเมืองเพื่อส่งไปแยกขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ โดยมีนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นประธานการประชุมซึ่งที่ประชุมมีผลสรุปหลักเกณฑ์คุณสมบัติผู้ต้องขังคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองที่จะรับการโอนย้ายไปเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ดังนี้

1. เป็นผู้ต้องขังกระทำความผิดในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา หรืออยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ที่ได้กระทำความผิดตั้งแต่ก่อนและหลังการก่อรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย.49
 เช่น ช่วงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศสงครามครั้งสุดท้ายต่อเนื่องถึงการบุกยึดสนามบินคดีความผิดระหว่างวันที่ 25 พ.ค.51 ถึงวันที่ 2 ธ.ค.51 เหตุการณ์กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล  ต่อเนื่องถึงกลุ่มคนรักเชียงใหม่ก่อความวุ่นวายคดีความผิดระหว่างวันที่ 26 มี.ค.52 ถึงวันที่ 22 ธ.ค.52 เหตุการณ์ นปช.ชุมนุมทางการเมือง ต่อเนื่องถึงปิดแยกราชประสงค์และวางเพลิงสถานที่ราชการ คดีความผิดระหว่างวันที่ 21 ม.ค.53 ถึงวันที่ 21 พ.ค.53

2. เป็นการกระทำความผิดในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่มีโทษทางอาญาอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อ 1. ได้แก่ ความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ในส่วนของผู้ต้องขังที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนั้น กรมราชทัณฑ์จะต้องพิจารณาโดยมีหลักฐานจากฝ่ายต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

สำหรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ นี้จะต้องให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์เห็นชอบก่อน แล้วส่งไปยังเรือนจำต่าง ๆ เพื่อให้คัดเลือกผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์.



เปิด "54" ชื่อผู้ต้องขัง ลุ้นนอน "คุกการเมือง"
ตาม ที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เสนอแนะเรื่องการปรองดองเกี่ยวกับการคุมขังนักโทษคดีการเมืองว่า "สมควร จัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจำปกติ เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหา/จำเลย ดังเช่นเคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต" ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ปรับปรุงโรงเรียนพลตำรวจบางเขน เป็นเรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือสถานคุมขังพิเศษ เพื่อรองรับนักโทษคดีการเมือง มีกำหนดโอนย้ายนักโทษการเมืองมาคุมขังในต้นปี 2555 นั้น

ทั้งนี้ สเปกหรือคุณสมบัติที่ คอป.ระบุถึงผู้ต้องขังคดีการเมืองข้อหนึ่งคือ เป็นผู้อยู่ระหว่างการดำเนินคดี นั่นหมายถึงคดียังไม่ถึงที่สุด

ล่าสุด "มติชน" ตรวจสอบพบว่ากรมราชทัณฑ์จำแนกกลุ่มผู้ต้องหาหรือผู้ต้องขังที่เกี่ยวเนื่อง ทางการเมืองและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา เป็นคดีระหว่างอุทธรณ์ 45 คน และคดีระหว่างการพิจารณา (ศาลชั้นต้น) 9 คน

ในกลุ่มที่คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ จำแนกตามสถานที่คุมขังดังนี้

เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

นายเพชร หรือโชค แสงมณี คดีก่อการร้าย ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เสียทรัพย์ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โทษจำคุก 6 ปี 6 เดือน

นายประสงค์ มณีอินทร์ ฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนดห้ามชุมนุมฯ ร่วมกันมีระเบิด วิทยุคมนาคมฯ พาอาวุธไปในเมือง และร่วมกันลักทรัพย์ โทษจำคุก 11 ปี 8 เดือน

นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ ฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนด ห้ามมิให้ชุมนุมฯ และการใช้เส้นทางคมนาคม ร่วมกันมีวัตถุระเบิด ร่วมกันพาอาวุธไปในเมืองหรือหมู่บ้านจำคุก 11 ปี 8 เดือน

นายเอกชัย มูลเกษ คดีก่อให้เกิดระเบิด ทำให้เสียทรัพย์ พ.ร.บ.อาวุธปืน จำคุก 8 ปี

นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล คดีหมิ่นเบื้องสูง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุก 13 ปี

นายเสถียร รัตนวงศ์ คดีประกอบกิจการจำหน่ายวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนและหมิ่นเบื้องสูง จำคุก 3 ปีและกักขัง 250 วัน

นายพันธุ์ชาย สวนเนตร คดีหมิ่นเบื้องสูงจำคุก 3 ปี 4 เดือน

นายวราวุธ ฐานังกรณ์ คดีหมิ่นเบื้องสูงจำคุก 3 ปี

นายณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์ คดีนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เผยแพร่ที่มีลักษณะลามก และหมิ่นเบื้องสูง จำคุก 3 ปี 11 เดือน 8 วัน

นายวันชัย แซ่ตัน คดีหมิ่นเบื้องสูง 2 คดี รวม 13 ปี 9 เดือน

นายสุริยันต์ กกเปือย คดีหมิ่นเบื้องสูงและทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวฯ จำคุก 3 ปี 15 วัน

นายอำพล ตั้งนพคุณ คดีหมิ่นเบื้องสูงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง หรือที่คนทั่วไปรู้จักในชื่อคดีอากง จำคุก 20 ปี

นายคมสันติ์ สุดจันทร์ฮาม คดีความผิดต่อเจ้าพนักงาน ปล้นทรัพย์ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จำคุก 3 ปี 6 เดือน

เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม

นายภานุพงษ์ พณสน คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ตระเตรียม จำคุก 5 ปี 4 เดือน

นายคมกฤษ คำวิแสง คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้จำคุก 4 ปี 4 เดือน

นายสมโภชน์ สีกากุล

นายเดชอดุลย์ เดชบุรัมย์

นายสุชล จันปัญญา

นายชรัณย์ เอกศิริ

นายอุภัย คงหา

นายไพรัช จอมหรรษา คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เสียทรัพย์จำคุก 5 ปี 8 เดือน

นายมนัส วรรณพงษ์ คดีก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ทำให้เสียทรัพย์ 6 ปี 8 เดือน

เรือนจำกลางอุบลราชธานี

น.ส.ปัทมา มูลมิล คดีความผิดต่อเจ้าพนักงาน ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จำคุก 34 ปี

นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ คดีความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน บุกรุก จำคุก 34 ปี

นายสนอง เกตุสวรรณ์

นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ ฯลฯ จำคุก 34 ปี

เรือนจำกลางอุดรธานี

คดีผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ วางเพลิง บุกรุก

นายอาทิตย์ ทองสาย จำคุก 22 ปี 6 เดือน

นายบัวเรียน แพงสา จำคุก 20 ปี 6 เดือน

นายกิตติพงษ์ ชัยกัง จำคุก 11 ปี 3 เดือน

นายวันชัย รักสงวนศิลป์ จำคุก 20 ปี 6 เดือน

นายเดชา คมขำ จำคุก 20 ปี 6 เดือน

เรือนจำจังหวัดมุกดาหาร

นาย ควง คนยืน

นายทวีศักดิ์ แข็งแรง

นายณัฐวุฒิ พิกุลศรี

นายไมตรี พันธ์คุณ

นายนพชัย พิกุลศรี

นายพรนม กันนอก

นายวิชัย อุสุพันธ์

นายวินัย ปิ่นศิลปะชัย

นายสมัคร ลุนริลา

นายวิชิต อินตะ

นายประครอง ทองน้อย

นายแก่น หนองพุดสา

นายทินวิวัฒน์ เมืองโคตร คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ จำคุก 20 ปี

และทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา

นางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล คดีหมิ่นเบื้องสูง จำคุก 15 ปี

ส่วนผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี (ศาลชั้นต้น) จำแนกตามสถานที่ควบคุม ดังนี้

เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

นายสายชล แพบัว ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ปล้นทรัพย์ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

นายเอนก สิงขุนทด คดีร่วมกันทำวัตถุระเบิด ฯลฯ

ส.ต.ต.บัณฑิต สิทธิทุม คดีร่วมกันก่อการร้าย ทำให้เกิดระเบิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินและ พ.ร.บ.อาวุธปืน

นายสุรัช แซ่ด่าน คดีหมิ่นเบื้องสูง 3 คดี

นายเลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ หรือ โจ กอร์ดอน คดีหมิ่นเบื้องสูงและนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับความมั่นคง

นายพินิจน์ จันทร์ณรงค์ วางเพลิง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เรือนจำจังหวัดนนทบุรี ...(ล่าสุด ได้ประกันตัวไปแล้ว)

นายจรูญ บุญเรือง นายสมนึก แซ่เฮง คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามที่นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป.เคยอรรถาธิบายไว้ว่า "นัก โทษการเมืองหมายถึงกลุ่มที่กระทำผิดด้วยแรงจูงใจทางการเมือง...ไม่ใช่พวกชุด ดำที่ใช้อาวุธเข่นฆ่ากัน และพวกวางเพลิงที่เตรียมการมา"

ฉะนั้น การคัดกรองแยกขังนักโทษการเมือง จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่กรมราชทัณฑ์จะต้องตรวจสอบและตอบคำถามสังคมได้!!?

ย้ายนักโทษการเมือง 47 รายเข้าเรือนจำหลักสี่วันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่วานนี้กรมราชทัณฑ์ได้รับมอบเรือนจำชั่วคราวหลักสี่จากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล พร้อมตรวจรับตามขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ววันนี้ (17 ม.ค.)กรมราชทัณฑ์จะย้ายผู้ต้องขังคดีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองจำนวน 47 คน เข้ามาควบคุม ซึ่งในจำนวนนี้ไม่รวมถึงผู้ต้องขังคดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา 112 ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ย้ายมาควบคุม เบื้องต้นผู้ต้องขังที่ย้ายมาจะถูกคุมขังอยู่บริเวณชั้น 3 ของเรือนจำ เนื่องจากบริเวณชั้น 2 ยังเหลือรายละเอียดต้องเก็บอีกเล็กน้อย ส่วนการควบคุมตัวผู้ต้องขังจะแบ่งบริเวณปีกอาคารซ้าย-ขวา แยกคุมขังผู้ต้องขังชาย-หญิง ไม่ให้ปะปนกัน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพได้เตรียมความพร้อมด้วยการนำอุปกรณ์จำเป็นเช่น เครื่องนอน จาน ช้อน ไปจัดสถานที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับอาหารของผู้ต้องขังทั้ง 3 มื้อ จะถูกส่งไปจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เนื่องจากในเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ไม่มีแดนสูทกรรม



 รอที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพรอส่งนักโทษความคิดไปโรงเรียนพลตำรวจบางเขน — ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

12.40 ย้ายนักโทษทางความคิดออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ สู่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน (กรณี 112 ไม่ได้ออก)


เสียงสะท้อนจากญาติ 'นักโทษการเมือง' เชียงใหม่


ธีระพล คุ้มทรัพย์
ศูนย์ข้อมูลประชาชนจากการสลายการชุมนุมเม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.)
11 ม.ค.55 ที่เรือนจำจังหวัดเชียงใหม่ ญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงจากคดีความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อปี 2551 หลายคนเดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังตามปกติ แต่ก็ต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อทราบว่าผู้ต้องขังเกือบทั้งหมด (ยกเว้น 1 ราย) ถูกส่งตัวไปยังเรือนจำในกรุงเทพฯ แล้วตั้งแต่เช้ามืด โดยคาดว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการย้ายผู้ต้องขังในคดีการเมืองไปยัง เรือนจำชั่วคราวแห่งใหม่ย่านหลักสี่ ตามข้อเสนอกระบวนการปรองดองของ คอป. หรือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและคนหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ
ญาติผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีฐานะยากจน บางคนไม่มีลูกหลานดูแลและป่วยเป็นโรคประจำตัว บางส่วนแสดงความเป็นห่วงไม่อยากให้ไปกรุงเทพฯ บางส่วนยังไม่แน่ใจว่าผู้ต้องขังจะได้รับการดูแลเพียงใด และจะเดินทางไปเยี่ยมที่กรุงเทพฯ ได้อย่างไร
ทั้งนี้ ผู้ต้องขัง 5 คนที่ถูกย้ายมากรุงเทพฯ คือ นายนพรัตน์ แสงเพชร, นายประยุทธ บุญวิจิตร, นายบุญรัตน์ ไชยมโน, นายสมศักดิ์ อ่อนไสว และนายพยอม ดวงแก้ว



อุดม เมฆขุนทด ภรรยาสมศักดิ์ อ่อนไสว ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่


สุจิต อินทชัย อดีตผู้ต้องขังคดีเสื้อแดง



เกศรา ไชยมโน บุตรสาวบุญรัตน์ ไชยมโน ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่




เล็ก เอื้องคำ ภรรยาประยุทธ บุญวิจิตร ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่




น้องหมีพู บุตรชายพยอม ดวงแก้ว ผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงเชียงใหม่



วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

FTP พาน้องเที่ยววันเด็ก

พาบุตรของผู้ต้องหาคดีการเมืองไปเที่ยววันเด็กครับ เราต้องทำหน้าที่แทนผู้ปกครองในขณะที่เจ้าตัวไม่สามารถทำได้ขณะนี้ ^0^


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

งานคอนเสิร์ทคนแดนไกลเติมใจให้ครอบครัวแดง 1

เพื่อนนักโทษการเมืองไทย "Friends of Thai Political Prisoners (FTP)"




หากท่านใดประสงค์อยากจะช่วยสนับสนุนกิจกรรม เพื่อนนักโทษการเมืองไทย "Friends of Thai Political Prisoners ( F T P.)"บริจาคได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว เลขที่บัญชี 730-2-72692-7 ชื่อบัญชี น.ส.สุดา รังกุพันธ์ และน.ส.กริชสุดา คุณะแสน